อาหารไทยโบราณกับผู้สืบทอดร้านอาหารไทย "ครัวนพรัตน์"

วันนี้ได้มีโอกาสมาสัมภาษณ์คุณ พัทธ์ ยิ่งเจริญ หรือพี่พัทธ์ 
 พี่พัทธ์เป็นทายาสเจ้าของร้าน ครัวนพรัตน์ หรือร้านอาหารไทยโบราณที่มีชื่อว่า ครัวนพรัตน์ ซึ่งร้านตั้งอยู่ที่ถนนพระอาทิตย์นั่นเองค่ะ 
เราจะพาเพื่อนๆมาทำความรู้จักพี่พัทธ์ และเกร็ดความรู้เกี่ยวกับอาหารไทยโบราณกันนะคะ







(ขอบคุณภาพจากเพจ ครัวนพรัตน์)

บทสัมภาษณ์ พี่พัทธ์ หรือ ทายาสรุ่นที่สามของครัวนพรัตน์

พิธีกร : สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาสัมภาษณ์ ทายาสร้านอาหารครัวนพรัตน์กันค่ะ นี่คือพี่พัทธ์ หรือทายาสร้านอาหาร ให้พี่พัทธ์แนะนำตัวหน่อยค่ะ

พี่พัทธ์ : ก็ชื่อพัทธ์ นะครับ นามสกุลยิ่งเจริญ เป็นทายาสรุ่นที่สามของร้านอาหารครัวนพรัตน์ ปัจจุบันเรียนอยู่ จิตรกรรมภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากรปีสุดท้ายแล้ว

พิธีกร : งั้นเรามาเข้าเรื่องกันเลยนะคะ ร้านอาหารเปิดมานานหรือยังคะ

พี่พัทธ์ : ร้านอาหารแต่เดิมเปิดมาตั้งแต่ปี 1982 รวมๆประมาณ 30 กว่าปีแล้วก็หยุดไปประมาณ 5-6 ปี แล้วก็กลับมาเปิดประมาณช่วงต้นปีที่ผ่านมา(ต้นปี 2017)

พิธีกร :แล้วที่ร้านอาหารขายอาหารไทยหรือเป็นอาหารไทยชาววัง อาหารไทยโบราณคะ

พี่พัทธ์ : ถ้าเกิดจำกัดความก็อาจจะเป็นอาหารไทยภาคกลางทั่วไป แต่ทั้งนี้มันก็จะมีมันก็จะมีความสัมพันธ์กับคำว่าอาหารไทยชาววัง เพราะว่าอาหารไทยภาคกลางส่วนใหญ่ที่เรารู้จักเนี่ยมันก็กระจายตัวออกมาจากอาหารในวัง ยกตัวอย่างเช่น อะไรที่ต้องใช้เครื่องปรุงเยอะใช้เครื่องเทศน์ ต้องใช้กะทิ ซ฿่งสมัยก่อนเนี่ยมันไม่มีขายอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ว่าวัฒนธรรมในวังเนี่ยมันจะเป็นวัฒนธรรมที่ต้องไปหาอะไรที่มันหายากเข้าไว้มากิน ซึ่งอะไรที่มันหายากมันก็จะมีมูลค่า เขาก็เลยไปหาวัตถุดิบมาจากต่างแดนเครื่องปรุงหรือว่าอะไรที่มาจากต่างแดน พริกแกง หรือว่าการปรุงด้วยกะทิ จะต้องมีการคั่วการปรุงพริกแกงก่อนมาผัดหรือว่ามาทำอาหาร มันก็กระจายตัวออกมาจากวัง อาหารอะไรที่มันเตรียมการซับซ้อนมากๆแล้วพอเวลามันผ่านไปวัตถุดิบพวกนี้มันก็สามารถหาได้ง่ายขึ้น เริ่มกระจายตัวไปสู่พ่อค้าแม่ค้าในตลาดมากขึ้น ก็ทำให้ไทยภาคกลางส่วนใหญ่ก็สามารถทำอาหารไทยเลียนแบบชาววังได้ ไอคำว่าอาหารไทยภาคกลางกับชาววังมันก็เลยทับซ้อนกัน

พิธีกร : แล้วอย่างที่ร้านมีขายอาหารอะไรบ้างคะ โบราณหรือชาววังที่หาทานยากค่ะ

พี่พัทธ์ : เอ่อ จริงๆถ้าเกิดว่าเป็นอาหารไทย อาจจะจำกัดได้ว่าอาหารไทยดั้งเดิมของภาคกลางเนี่ยเป็นพวก แกงกะทิต่างๆ ตั้งแต่แกงเขียวหวาน พะแนง มัสหมั่น เอ่อ หรือว่าแกงเนื้อที่ไม่ใส่เครื่องหรือใส่ผักอื่นเลย ใส่แค่พริกแกงคั่วเนื้ออย่างเดียว ใส่พริกขี้หนู ทานคู่กับโรตีอันนี้ก็เอ่อ จะเป็นส่วนแกงกะทิ หรือแกงไม่ใส่กะทิก็จะเป็นพวก แกงส้ม ต้มส้ม ต้มยำ แล้วก็ เอ่อ พวกยำต่างๆที่หาทานไม่ค่อยได้เช่นพวกยำมะเขือยาว หรือพวกอาหารทานเล่นก็จะเป็นข้าวตังหน้าตั้ง หมี่กรอบ แล้วก็โยเฉพาะพวกน้ำพริกซึ่งก็ตำเอง 

พิธีกร :แล้วมีวัยรุ่นหรือว่าช่วงวัยไหนมาทานบ้าง

พี่พัทธ์ : ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกค้าเดิมซึ่งถ้าร้านเปิดมาสามสิบปี น่าจะเป็นตั้งแต่วัยกลางคนไล่ไปจนถึงวัยสูงอายุ ก็จะเป็นกลุ่มลูกค้าเดิม ซึ่งตอนนี้กลับมาเปิดใหม่กลุ่มลูกค้าเดิมก็ยังเป็นกลุ่มลูกค้าหลักอยู่ก็กลับมาทาน ส่วนวัยรุ่นก็มีบ้างแต่ไม่มากอาจจะเป็นเพราะว่ายังไม่ค่อยคุ้นชินกับร้านอาหารไทยเต็ฒตัวเท่าไหร่ ทุกวันนี้ร้านอาหารก็ฟิวชั่น(ร่วมสมัย)ไปหมด

พิธีกร : แล้วส่วนตัวนี่คิดว่าอาหารไทยยังมีความสำคัญมีความนิยมอยู่ไหมคะ

พี่พัทธ์ :คือจริงๆแล้วเนี่ยถ้าเกิดว่าพูดว่าอวัยวะไหนในร่างกายเราเป็นอนุรักษ์นิยมมากที่สุดเนี่ย ก็ต้องบอกว่าลิ้นคนเนี่ยเป็นอะไรที่อนุรักษ์นิยมมาก ยกตัวอย่างเช่นนัตตี้(พิธีกร)ไปฝรั่งเศส นัตตี้ไปยุโรปไปอยู่สักเดือนนึง สิ่งที่นัตตี้(พิธีกร)จะขาดไม่ได้ก็คือมาม่า

พิธีกร : อ๋ออออ

พี่พัทธ์ : น้ำพริก หรืออะไรสักอย่าง คนไทยอดไม่ได้หรอกที่จะหันกลับไปหารสชาติไทยๆ ไม่ว่าเราจะ เอ่อ ทำตัวไปชอบอาหารญี่ปุ่น อาหารเกาหลี หรืออะไรก็ตามเนี่ย เราทำอยู่ได้แค่พักนึง สุดท้ายเราก็กลับมากินส้มตำไก่ย่าง เราก็กลับมาหารสชาติเดิม คือมันหนีไม่พ้น ของคนยุโรปก็เหมือนกันให้เขามานั่งกินข้าวเหนียวทุกวันเขาก็ไม่รู้สึกว่ามันคุ้นชิน เขาก็กลับไปกินขนมปัง ส่วนเราๆก็จะบอกเวลากินขนมปังว่ามันไม่อยู่ท้อง จริงๆมันไม่เกี่ยวหรอก ถ้ากินไปสักแถวนึง55555(หัวเราะ) ใช่ไหม มันก็อยู่ท้องนะแต่ว่าจริงๆคือมันไม่คุ้นชินมากกว่า

พิธีกร : ค่ะ ก็สุดท้ายนี้นะคะ ให้พี่พัทธ์ฝากร้านนิดนึงค่ะ

พี่พัทธ์ : ครับ ก็ร้านนพรัตน์นะครับ ตอนนี้ก็กลับมาเปิดใหม่แล้ว พื้นที่ส่วนนึงนอกจากจะเป็นร้านอาหารไทยก็จะเป็นแกลอรี่ด้วย ให้มามีงานศิลปะมาลงให้มาให้ดูกัน ในอนาคตอาจจะมีร้านกาแฟเปิดชั้นสองให้ได้นั่งกันด้วยนะครับ ร้านอยู่บนถนนพระอาทิตย์ ฝั่งตรงข้ามป้อมพระสุเมรุก็หาไม่ยากครับ 

พิธีกร : มีช่องทางติดต่อไหมคะ แบบฟอลโล่ไอจีอะไรยังงี้

พี่พัทธ์ : เอ่อถ้าเกิดว่าเป็นเพจในเฟสบุ้คเนี่ยก็ตรงตามชื่อร้านเลยครับ "ครัวนพรัตน์ Cuisine and Gallery" ไอจีก็ชื่อเดียวกันครับ

พิธีกร : สำหรับวันนี้เราก็ต้องขอบคุณพี่พัทธ์ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

    สรุปโดยรวมนะคะ จากการสัมภาษณ์และความรู้ที่ได้รับ อาหารไทยมีการผสมผสานและถูกดัดแปลงตามกาลเวลาและวัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามคนไทยก็ยังคงให้ความสำคัญกับอาหารไทยที่เราคุ้นชิน การทำอาหารไทยมีความพิถีพิถันที่ชาติใดก็ทำตามไม่ได้ และในปัจจุบันหาทานได้ยากแล้ว จึงอยากเชิญชวนทุกๆท่านสำหรับร้านเก่าแก่ ครัวนพรัตน์นี้ นอกจากจะได้ทานอาหารไทยแท้ๆแล้ว เรายังได้ชมแกลอรี่ที่เป็นส่วนสำคัญของร้านอีกด้วยค่ะ






Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สื่ออิเล็กทรอนิกส์

plan

อาหารไทยโบราณน่าสนใจจริงหรือ?